2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ตำบลสายทองแบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านพายทอง
นางสาวอัญชิสา ชุ่มยิ้ม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นางนวลจันทร์ บุญศรี เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางเพ็ญชิสา บัวเล็ก เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางปราณี กล่อมตระกูล เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลโรงช้าง อำเภอป่าโมก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ ๗ ตำบลโรงช้าง ,หมู่ที่ ๘ ตำบลสายทอง
ประวัติหมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 บ้านพายทอง สันนิษฐานว่าจะตั้งชื่อตามชื่อวัดพายทองที่ตั้งอยู่ในจุดเริ่มต้นของเขตหมู่บ้านด้านทิศใต้ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.โรงช้าง ประวัติของวัดพายทองมีเรื่องเล่าจากผู้สูงอายุเล่าให้บุตรหลานฟังกันต่อๆ มาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเจ้านายชั้นสูงออกมาเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎรโดย ทางน้ำพายเรือมา บังเอิญพายหลุดมือตกจมน้ำตรงหน้าวัด ตามเรื่องเล่าว่าเป็นพายทองคำ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพายที่เลี่ยมด้วยทองคำเฉพาะบางส่วน) จึงตั้งชื่อวัดว่า “ วัดพายทอง ” ชุมชนที่อยู่ใกล้วัดจึงตั้งชื่อว่า “ชุมชนบ้านพายทอง” ตามชื่อวัด
หมู่ที่ 2 บ้านคลองพุทรา
นางธนาภา จิตรอักษร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายปรีชา พุทธิวัย เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสมพงษ์ สุขทอง เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
พื้นที่ อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลสายทอง
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 ตำบลโรงช้าง
ทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลสายทอง
ประวัติหมู่บ้าน
ในสมัยโบราณประชาชนในหมู่บ้านสวนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงสัตว์ มีน้ำจากแม่น้ำลำคลองเป็นหัวใจสำคัญในการทำการเกษตร ในบริเวณ 2 ฝั่งคลองชาวบ้านนิยมปลูกต้นพุทราไว้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “ บ้านคลองพุทรา” เป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน นอกจากคลองชลประทาน มีน้ำท่วมเป็นบางปี ภิมิอากาศเป็น ๓ ฤดู ร้อน ฝน หนาว การการคมนาคมสะดวก มีถนนคอนกรีต ถนนลาดยางถึงตลาดและที่ว่าการอำเภอ
หมู่ที่ 3 บ้านท่าควาย
นายยงยศ พยอมแย้ม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายสุเทพ ป่าพฤกษา เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางปทุม แถบทอง เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางอำนวย ผลโชค เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายพินิจ บุญปกครอง เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านท่าควาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมคลอง มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี เกษตรกรเลี้ยงโค กระบือเป็น จำนวนมากและจะต้องนำมาลงคลองนี้เป็นประจำทุกวัน จึงได้ชื่อว่า “บ้านท่าควาย” จนถึงปัจจุบันนี้
หมู่ที่ 4 บ้านบางหูเชือก
นายฉลอง โพธิสุวรรณ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นางสุมาลี เฉลิมไทย เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายวิวัตร ชูวงค์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสหเดช แก้วมะณี เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านบางหูเชือก หมู่ที่ 4 ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง บ้านบางหูเชือก (หมู่ที่ 4) ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เดิมชื่อคลองบางหูเชือก ใช้สัญจรไปมา และการค้าขายระหว่างอำเภอป่าโมก กับ อำเภอบางประหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชึ่งสมัยก่อนใช้เรือเป็นพาหนะ เป็นลักษณะเรือแจว ฃึ่งประกอบด้วยหลักแจว ใบแจว และหูเชือก ฃึ่งสมัยนั้นคลองมีกระแสน้ำค่อนข้างแรง อุปกรณ์ที่ใช้กับเรือแจวเสียหายอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเชือก ด้วยเหตุนี้ ประชาชนจึงใช้ภูมิปัญญาและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือพวกกระเจา ใช้ฟั่นเชือกเป็นอุปกรณ์ทำหูเชือกขาย จึงสันนิษฐานว่า ผู้ที่สัญจรไปมาเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บางหูเชือก และเรียกติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน คำว่าคลองหายไปเหลือแต่เพียง “บางหูเชือก”
หมู่ที่ 5 บ้านคลองกะเชนทร์
นายชูกิจ ชูวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นางสำอาง ถมมาลา เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายสมเกียรติ ลิ้มประยูร เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านคลองคะเชนทร์ ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน โดยจะทำนาปรังเป็นส่วนใหญ่ มีคลองตัดผ่านกลางหมู่บ้าน จึงเรียกว่า “คลองกะเชนทร์”
หมู่ที่ 6 บ้านคลองยายนวล
นายเสริมชัย ปานพรหม เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นางพิมชนก นาคมานพ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายทวีศักดิ์ เฉลิมพรต เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นางสุนิสา อภัยจิต เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ผ่านมา ชาวบ้านแถวนี้ มีความเป็นอยู่แบบชาวนาชนบท มีการเลี้ยงควาย และวัวเป็นฝูงๆ และก็มีทางควายที่จะเดินออกไปทางทุ่งนา และหนองเจ็ดเส้นแค่ทางเดียวคือทางบ้านของยายนวล ยายนวลเป็นพี่สาวของยายเนย ไม่ปรากฏนามสกุล เมื่อควายเดินบ่อยๆเข้า ทางก็เป็นหลุมลึกทุกๆปี และมีน้ำไหลหลาก จากทางควายข้างบ้านของยายนวล ก็กลายเป็นคลองข้างบ้านของยายนวล ต่อมาคำว่าข้างก็หายไป เหลือแต่คำว่า คลองยายนวล จนมาถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 7 บ้านหัวไผ่
นายเชาวลิต วงค์เงิน เป็นกำนันตำบลสายทอง
นางอภิญดา กิจมล เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายอำนาจ พรหมพงษ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายอภิชัย ออมสิน เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านหัวไผ่ ประชาชนในหมู่บ้านนิยมปลูกต้นไผ่ไว้ใช้งาน เช่น ทำค้างถั่ว ไม้ค้ำกล้วย ทำสะพานเดินเวลาเกิดน้ำท่วม และพื้นที่ติดกับบ้านหัวไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง คนทั่วไปมักเรียกว่าคน หัวไผ่ จนถึงปัจจุบัน จึงเรียกว่า “บ้านหัวไผ่”
หมู่ที่ 8 บ้านคลองโพธิ์
นายจรัญ นิ่มพงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
นายสมยศ จุลเมือง เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายวิชิต โพธิ์สุวรรณ์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายอุดม ศรีคง เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ประวัติหมู่บ้าน
ชุมชนหมู่ที่ ๘ บ้านพายทอง สันนิษฐานว่าจะตั้งชื่อตามชื่อวัดพายทองที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามหมู่บ้าน ด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับพื้นที่หมู่ที่ ๕ ตำบลโรงช้าง ประวัติของวัดพายทอง มีเรื่องเล่าจากผู้สูงอายุเล่าให้บุตรหลานฟังกันต่อ ๆ มาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเจ้านายชั้นสูงออกมาเยี่ยมเยือนดูแลทุกข์สุขของราษฎร โดยทางน้ำ เมื่อพายเรือมาบังเอิญพายหลุดมือตกจมน้ำตรงหน้าวัด ตามเรื่องเล่าว่าเป็นพายทองคำ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพายที่เลี่ยมด้วยทองคำเฉพาะบางส่วน) จึงตั้งชื่อว่า “วัดพายทอง” ชุมชนที่อยู่กลุ่มใกล้วัดจึงตั้งชื่อว่า “ชุมชนวัดพายทอง” ตามชื่อ
2.2 เขตการเลือกตั้ง
ตำบลสายทอง แบ่งเขตเลือกตั้งเป็น 6 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบด้วย
1. หน่วยเลือกตั้งที่ 1 บ้านพายทอง หมู่ที่ 1
2. หน่วยเลือกตั้งที่ 2 บ้านคลองพุดทรา หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 8
3. หน่วยเลือกตั้งที่ 3 บ้านท่าควาย หมู่ที่ 3
4. หน่วยเลือกตั้งที่ 4 บ้านบางหูเชือก หมู่ที่ 4
5. หน่วยเลือกตั้งที่ 5 บ้านคลองคะเชนทร์ หมู่ที่ 5
6. หน่วยเลือกตั้งที่ 6 บ้านคลองยายนวล หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7
|