อำนาจหน้าที่
ทดสอบ
20 มีนาคม 2564

0


ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ทดสอบ ได้ที่นี่
สำนัักปลัด อบต.สายทอง
1 ตุลาคม 2563

0


สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

                     มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานราชการทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบล งานเลขานุการของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล งานกิจการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล งานบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง งานสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส งานกิจการขนส่ง งานส่งเสริมการท่องเที่ยว งานส่งเสริมการเกษตร งานการพาณิชย์ งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานเทศกิจ งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานจราจร งานวิเทศสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานนิติการ   งานคุ้มครอง ดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ งานสิ่งแวดล้อม และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ  กอง สำนัก หรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

                     1.1 งานบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                 - งานธุรการ

                                 - งานเลือกตั้ง

                                - งานส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.2 งานวิเคราะห์นโยบายและแผน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานวิเคราะห์นโยบายและแผน 

                                - งานจัดทำแผนพัฒนา

                                - งานงบประมาณ

                                - งานตรวจติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.3 งานนิติการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานนิติกรรมและสัญญา

                                - งานกฎหมายและคดี

                                - งานรับเรื่องราวร้องทุกข์

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.4 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                                - งานรักษาความสงบเรียบร้อย

                                - งานสงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ประสบภัย

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.5 งานกิจการสภา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานเลขานุการของคณะผู้บริหาร

                                - งานการประชุมสภา อบต.

                                - งานเกี่ยวกับระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ  การประชุม

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.6 งานควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานคุ้มครอง ดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

                                - งานสิ่งแวดล้อม

                                - งานส่งเสริมสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.7 งานส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานส่งเสริมสุขภาพ

                                - งานส่งเสริมสาธารณสุข 

                                - งานการแพทย์ฉุกเฉิน 

                                - งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.8 งานส่งเสริมสวัสดิการสังคม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานสวัสดิการสังคม

                                - งานสังคมสงเคราะห์

                                - งานพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.9 งานป้องกันและควบคุมโรค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

                                - งานส่งเสริมป้องกันควบคุมโรค

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย                  

                     1.10 งานอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานสุขาภิบาลในสถานประกอบการงาน สุขาภิบาลชุมชน

                                - งานอนามัยสิ่งแวดล้อม

                                - งานส่งเสริมการเกษตร

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.11 งานการเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการบริหารงานบุคคล

                                - งานการวางแผนอัตรากำลัง

                                - งานสิทธิสวัสดิการทุกประเภท

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย       

                     1.12 งานส่งเสริมการท่องเที่ยว มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการท่องเที่ยว

                                - งานการกีฬา  

                                - งานนันทนาการ  

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     1.13 งานกิจการพาณิชย์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการพาณิชย์

                                - งานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

กองคลัง อบต.สายทอง
1 ตุลาคม 2563

0


กองคลัง

                     มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานการจ่ายเงิน การรับเงิน การจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และการพัฒนารายได้ งานสรุปผล สถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม งานนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงินและเอกสารทางการเงิน งานการตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกาทุกประเภท งานการจัดทำบัญชี งานตรวจสอบบัญชีทุกประเภท    งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นๆ งานจัดทำหรือช่วยจัดทำงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ งานเกี่ยวกับสถานะการเงินการคลัง งานการจัดสรรเงินต่างๆ  งานทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ งานควบคุมการเบิกจ่ายเงิน งานทำงบทดลองประจำเดือนและประจำปี    งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา งานทะเบียนคุม งานการจำหน่าย พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่างๆ  งานเกี่ยวกับเงินประกันสัญญาทุกประเภท งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านการเงินการคลัง การบัญชี การพัสดุและทรัพย์สิน รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

                      2.1 งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการจ่ายเงิน การรับเงิน

                                - งานนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน

                                - งานการตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกาทุกประเภท

                                - งานการจัดทำบัญชี

                                - งานเกี่ยวกับสถานะการเงินการคลัง

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     2.2 งานพัฒนารายได้  มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม และการพัฒนารายได้

                                - งานสรุปผล สถิติการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียม

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     2.3 งานแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน

                                - งานปรับปรุงข้อมูลแผนที่ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่  

                                - งานควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับแผนที่ภาษีและทะเบียน ทรัพย์สิน

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     2.4 งานพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานจัดทำแผนการจัดซื้อ จัดจ้าง

                                - งานพัสดุ ครุภัณฑ์ วัสดุ ที่ดิน สิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน

                                - งานเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหาพัสดุ ครุภัณฑ์ วัสดุ ที่ดินสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กองช่าง อบต.สายทอง
1 ตุลาคม 2563

0


กองช่าง

                     มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานสำรวจ งานออกแบบและเขียนแบบ งานประมาณราคา งานจัดทำราคากลาง งานจัดทำข้อมูลทางด้านวิศวกรรมต่างๆ งานจัดเก็บและทดสอบคุณภาพวัสดุ งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ งานติดตั้งซ่อมบำรุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร งานปรับปรุงภูมิทัศน์ งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย งานตรวจสอบการก่อสร้าง งานจัดทำแผนปฏิบัติงานการก่อสร้างและซ่อมบำรุงประจำปี  งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง งานจัดทำประวัติ ติดตาม ควบคุมการปฏิบัติงานเครื่องจักรกล งานจัดทำทะเบียนประวัติการใช้เครื่องจักรกลและยานพาหนะ งานแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ   งานเกี่ยวกับการประปา งานเกี่ยวกับการช่างสุขาภิบาล งานช่วยเหลือสนับสนุนเครื่องจักรกล งานช่วยเหลือสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานช่วยเหลือสนับสนุนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  งานจัดทำทะเบียนควบคุมการจัดซื้อ เก็บรักษา การเบิกจ่ายวัสดุ อุปกรณ์ อะไหล่ น้ำมันเชื้อเพลิง งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการด้านวิศวกรรมต่างๆ รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

                     3.1 งานแบบแผนและก่อสร้าง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานสำรวจ

                                - งานออกแบบและเขียนแบบ

                                - งานประมาณราคา

                                - งานตรวจสอบการก่อสร้าง     

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                      3.2 งานควบคุมอาคาร มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการควบคุมอาคารตามระเบียบกฎหมาย

                                - งานควบคุมการก่อสร้างและซ่อมบำรุง

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                      3.3 งานผังเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานจัดทำทะเบียนประวัติโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สะพาน คลอง แหล่งน้ำ

                                - งานผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมืองและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     3.4 งานประสานสาธารณูปโภค มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานติดตั้งซ่อมบำรุงระบบไฟส่องสว่างและไฟสัญญาณจราจร

                                - งานปรับปรุงภูมิทัศน์

                                - งานเกี่ยวกับการประปา

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

                     3.5 งานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                                - งานบริการรักษาความสะอาด 

                                - งานบริหารจัดการสิ่งปฏิกูล

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

 

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.สายทอง
1 ตุลาคม 2563

0


กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                     มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษาทั้งการศึกษา      ในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดการศึกษาปฐมวัย อนุบาลศึกษา ปฐมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา งานบริหารวิชาการด้านการศึกษา งานโรงเรียน งานกิจการนักเรียน งานการศึกษาปฐมวัย งานขยายโอกาสทางการศึกษา งานฝึกและส่งเสริมอาชีพ งานห้องสมุด           งานพิพิธภัณฑ์ งานเครือข่ายทางการศึกษา งานศึกษานิเทศ งานส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหลักสูตร         งานพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา งานการศาสนา งานบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น งานการกีฬาและนันทนาการ งานกิจกรรมเด็กเยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งานส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพและกองทุนเพื่อการศึกษา งานบริหารงานบุคคลของพนักงานครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้าง และพนักงานจ้างสังกัดสถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกรณียังไม่จัดตั้งกองการเจ้าหน้าที่ งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำทางวิชาการ งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

                     4.1 งานบริหารการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานบริหารการศึกษา

                                - งานพัฒนาการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา การศึกษานอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย

                                - งานวิชาการ

                                - งานการศึกษาปฐมวัย

                                - งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                     4.2 งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานส่งเสริมและสนับสนุนการศาสนา

                                - งานส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงศิลปะวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                     4.3 งานกิจกรรมเด็กและเยาวชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานกิจกรรมเด็กเยาวชน และการศึกษานอกโรงเรียน

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

                     4.4 งานส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานการส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยตรวจสอบภายใน อบต.สายทอง
1 ตุลาคม 2563

0


หน่วยตรวจสอบภายใน

                     มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี   งานการตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับการจ่ายเงินทุกประเภท ตรวจสอบการเก็บรักษาหลักฐานการเงิน การบัญชี งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน งานตรวจสอบการทำประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล งานตรวจสอบติดตามและการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการให้เป็นไปตามนโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและประหยัด งานวิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัด คุ้มค่า ในการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่างๆ งานประเมินการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ งานรายงานผลการตรวจสอบภายใน งานบริการข้อมูล สถิติ ช่วยเหลือให้คำแนะนำ แนวทางแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานแก่หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยจัดแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้

                     5.1 งานตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                                - งานจัดทำแผนการตรวจสอบภายในประจำปี

                                - งานการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการเงิน การบัญชี เอกสารการรับ                                       การจ่ายเงินทุกประเภท

                                - งานตรวจสอบการสรรหาพัสดุและทรัพย์สิน การเก็บรักษาพัสดุและทรัพย์สิน

                                - งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง
21 กรกฎาคม 2561

0


อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง

            การพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง นั้นเป็นการสร้างความเข้มแข็ง ของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมสร้าง ร่วมจัดทำส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ในทุกด้าน การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่ที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหา และความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง องค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในทุกกลุ่ม ทุกวัยของประชากร นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริม และสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพโดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น และเศรษฐกิจแบบพอเพียงโดยส่วนร่วม

           การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวบรวมกฎหมายอื่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ใช้เทคนิค SWOT เข้ามาช่วย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคาม ในการดำเนินการตามภารกิจตามหลัก SWOT องค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอแผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้

          1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                     (1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก (มาตร67(1))

                     (2) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา68(1))

                     (3) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา68(2))

                     (4) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ (มาตรา(68(3))

                     (5) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา 16(4))

                     (6) การสาธารณูปการ(มาตรา16(5))

          2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต และมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ (มาตร67(6))

                     (2) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา67(3))

                     (3) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ(มาตรา68(4))

                     (4) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส(มาตรา(16(10)

                     (5) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(12))

                     (6) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))

                     (7) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))


          3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตร67(4))

                     (2) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน(มาตรา 67(8))

                     (3) การผังเมือง (มาตรา68(13))

                     (4) จัดให้มีที่จอดรถ(มาตรา16(3))

                     (5) การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง(มาตรา (16(17))

                     (6) การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))


           4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา68(6))

                     (2) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์(มาตรา 68(5))

                     (3) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา68(7))

                     (4) ให้มีตลาด (มาตรา68(10))

                     (5) การท่องเที่ยว (มาตรา(68(11))

                     (6) กิจการเกี่ยวกับการพาณิช (มาตรา 68(12))

                     (7) การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))

                     (8) การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน(มาตรา 16(7))


           5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่ เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา67(7))

                     (2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สวนสาธารณะ รวมทั้งกำจัดขยะ
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล(มาตรา 67(2))


           6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น (มาตรา67(8))

                     (2) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))

                     (3) การจัดการศึกษา (มาตรา16(9)) (4) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น (มาตรา67(5)(18))

 

           7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                     (1) สนับสนุนหน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา66) ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.

                     (2) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากร ให้ตามความจำเป็นและสมควร (มาตรา 67(9))

                     (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา16(16))

                     (4) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (มาตรา66)

                     (5) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกัน (มาตรา(66(67))

                     ภารกิจทั้ง 7 ด้าน ตามกฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล สามารถจะแก้ไข ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลสายทอง ได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ


หมายเหตุ : มาตรา 66,67,68 หมายถึง ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2543                           มาตรา 16 หมายถึง พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

 

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะดำเนินการ

ภารกิจหลัก

1. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

2. ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย

4. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร

6. ด้านการส่งเสริมการศึกษา

7. ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


ภารกิจรอง

1. การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี

2. การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ

3. การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร

4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน

 

ปฏิบัติตาม

           1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำและประสานแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2546

           2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541

           3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541

           4. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน

 

อำนาจหน้าที่
2 เมษายน 2561

0


องค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุน    ในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

 

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

           อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)

2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังน็

  1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก

                             2) รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลกการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

                             3) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

  4) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

  5) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                      6) จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

  7) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ

  8) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  9) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

  10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

 

3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้

  1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร

  2) ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

  3) ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

  4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

  5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์  

  6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

  7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ

  8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

  9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.

  10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม

  11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

  12) การท่องเที่ยว

  13) การผังเมือง

 

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

           พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

           1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

           2) การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ

           3) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

           4) การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ

           5) การสาธารณูปการ

           6) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ

           7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

           8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

           9) การจัดการศึกษา

           10) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

           11) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

           12) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

           13) การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

           14) การส่งเสริมกีฬา

           15) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

           16) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

           17) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

           18) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

           19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

           20) การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน

           21) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

           22) การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์

           23) การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

           24) การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           25) การผังเมือง

           26) การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร

           27) การดูแลรักษาที่สาธารณะ

           28) การควบคุมอาคาร

           29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

           30) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน

           31) กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด