Background



ข่าวประชาสัมพันธ์
ภัยอันตรายจากโรคพิษสุนัขบ้า
4 กุมภาพันธ์ 2565

73


โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาทจากสัตว์สู่คน เชื้อโรคพิษสุนัขบ้าไม่ได้พบแค่ในสุนัขเท่านั้น แต่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ลิง หนู กระต่าย เป็นต้น ผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกราย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน!

อาการโรคพิษสุนัขบ้า มีอะไรบ้าง ?

  • อาการเริ่มแรก : ไข้ต่ำ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย และต่อมาจะมีอาการคันบริเวณแผลที่ถูกกัด มีอาการคลุ้มคลั่ง
  • อาการทางประสาท : กระสับกระส่าย กลัวแสง ไม่ชอบเสียงดัง กระวนกระวาย มีอาการหนาวสั่น กลืนลำบากโดยเฉพาะของเหลว อย่างเช่นน้ำ โดยจะมีอาการเกร็ง ทำให้ไม่อยากดื่มน้ำ
  • อาการสุดท้าย : เกร็ง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก กล้ามเนื้อกระตุก รวมถึงแขนขาอ่อนแรงลง หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด

หากติดเชื้อแล้ว…โอกาสเสียชีวิตสูง

  • พิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  • คนเราติดเชื้อพิษสุนัขบ้า จากสุนัขมากที่สุด
  • การล้างแผลด้วยน้ำและเบตาดีน หลังถูกกัด หรือ สัมผัสสัตว์ต้องสงสัย ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างมาก

อาการหลังจากติดเชื้อพิษสุนัขบ้า

(ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงหลังได้รับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์ – 6 เดือน หรืออาจนานถึง 1 ปี

  1. เริ่มแรกจะมีไข้ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันรุนแรงบริเวณบาดแผล
  2. มีอาการทางประสาท คลุ้มคลั่ง กลัวแสงกลัวคน ไม่อบเสียงดัง
  3. ภาวะหายใจล้มเหลว แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หัวใจหยุดเต้น โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

หากถูกกัดแล้ว ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร?

  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่เบาๆ ให้ถึงก้นแผล และล้างสบู่ออกให้หมด (ทำซ้ำเป็นเวลานาน 15 นาที)
  2. ทายาเบตาดีน การล้างแผลจะช่วยโอกาสการติดเชื้อได้ถึง 80%
  3. รีบมาพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้ประเมินระดับของบาดแผล และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 

หมายเหตุ : โรคพิษสุนัขบ้าไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถป้องกันได้ การป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกสัตว์มีเชื้อกัด และรับวัคซีนเมื่อถูกสัตว์ที่ไม่มั่นใจว่ามีเชื้อกัดทันที หากไม่มั่นใจควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด